วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 2 แบบฝึกหัด (ตอบคำถามจากบทเรียน)

อนุทินที่ 2
แบบฝึกหัด

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ   ข้าพเจ้าคิดว่ามนุษย์เราต้องมีกฎหมายในการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นข้อบังคับในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม หรือในกลุ่มคนหมู่มากเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมสังคม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างกฎเกณฑ์และกติกาต่าง ๆ ขึ้นใช้บังคับแก่สมาชิกในสังคม เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเป็นไปในทำนองเดียวกัน และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมไว้ ซึ่งจะทำให้สังคมเกิดความสงบสุขขึ้นได้ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่กำหนดให้คนในสังคมต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสงบสุขและเรียบร้อยภายในสังคม
        หากไม่มีกฎหมายบ้านเมืองก็จะ ไม่มีความสงบสุขมีแต่ความวุ่นวายขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและผู้คนจะมีการละเมิดสิทธิของคนแต่ละคนในสังคม สังคมคงจะปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะกฎหมายก็เกิดจากความขัดแย้งต่างๆที่คนเราเคยมี จึงแก้ปัญหาโดยให้มีกฏกติกาเพื่อทำให้ทุกคนยึดถือ กติกาเดียวกันสามารถดำเนินชีวิตโดยปกติ และมีความสงบสุข

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่ หากไม่มีกฎหมายและจะทำอย่างไร
ตอบ  ข้าพเจ้าคิดว่าในสังคมปัจจุบันจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีกฎหมาย เพราะว่ากฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังคับ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันกันมากและทำทุกอย่างเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์จากหน้าที่การงานหรือจากหน่วยงาน คนที่มีอำนาจจะทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์ส่วนคนที่ไม่มีอำนาจก็จะไม่มีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน ตนเองได้รับประโยชน์ส่วนคนที่ไม่มีอำนาจก็จะไม่มีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน ผู้คนจะมีการละเมิดสิทธิของคนแต่ละคนในสังคม ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีบทลงโทษ ในที่สุดก็จะไม่มีระเบียบวินัย บ้านเมืองมีปัญหาวุ่นวาย มนุษย์ต่างคนต่างจะทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยไม่เกรงกลัวความผิด  ผู้ที่มีอิทธิพลก็จะควบคุมคนในสังคม โดนการเอาเปรียบ

3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นใดต่อไปนี้
ตอบ  ก. ความหมาย           
กฎหมาย คือข้อบังคบที่ทุกคนยึดถือและปฏิบัติเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมืองผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ
         ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. เป็นคาสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคาสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
          2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับอันมิใช่คาวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคาแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสาหรับคาสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
          3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วันแจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจาการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
          4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทาตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทาผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชาระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทาหรืองดเว้นกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอานาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทาร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคาพิพากษา ซึ่งคาพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนาไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทาให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
ง. ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                             1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
                             1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                   2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                             2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
                             2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                   3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสาบัญญัติ
                             3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
                             3.2 กฎหมายวิธีสาบัญญัติ
                   4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                             4.1 กฎหมายมหาชน
                             4.2 กฎหมายเอกชน
          กฎหมายภายนอก
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ  ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะในแต่ละสังคมมีผู้คนจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านความคิดและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกันเพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆคือ กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้นการที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในทางใดก็ตาม ถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมปกติ

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ได้กำหนดกฎหมายนั้นเมื่อประกาศใช้แล้วจะต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม หากไม่มีสภาพบังคับแล้วก็ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับของกฎหมายได้แก่ การลงโทษหรือการเสียสิทธิและหน้าที่หรือการถูกบังคับให้ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เรียกว่า สินไหมทดแทน สภาพบังคับของกฎหมายนั้นอาจจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ สภาพบังคับในทางอาญา กับ สภาพบังคับในทางแพ่ง สภาพบังคับในทางอาญา คือ การลงโทษ โทษทางอาญาที่จะใช้บังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน มีอยู่5 ประเภทคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ซึ่งจะลงโทษประการใดแก่ผู้ใดนั้นก็จะต้องพิจารณาจากการกระทำของเขา

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
 ตอบ  - ความเหมือน   คือ บุคคลที่กระทำความผิดจะถูกลงโทษทางกฎหมายที่กำหนด
         - ความแตกต่าง คือ ในการลงโทษทางกฎหมายอาญาและแพ่งจะมีบทลงโทษหรือข้องดเว้นที่แตกต่างกัน คือกฎหมายอาญาจะลงโทษโดยการรอลงอาญา การปรับ การจำคุก แต่กฎหมายแพ่ง มีบทลงโทษ โดยการชดเชยค่าสินใหม่ทดแทน ค่าเสียหาย หรือการชำระหนี้

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
 ตอบ ระบบกฎหมายแบ่งตามตำราใช้ว่า สกุลกฎหมายที่ใช้ในประเทศต่างๆแบ่งเป็น 2 ระบบคือ
        1. ระบบซีวิลลอร์ หรือระบบลายลักษณ์อักษร
       กฎหมายลายลักษณ์อักษรจะมีความสำคัญมากกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างในการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่ากฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดี ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
        2. ระบบคอมมอนลอว์
       เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพาก ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งกลายเป็นกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง และการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งเป็นอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ    ประเภทของกฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
           - แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
           - แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
           - แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
           - แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
           - กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
           กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน มี 2 ประเภท
           1.  กฎหมายภายใน
           - กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
           - กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
           - กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีบัญญัติ
           - กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
           2.  กฎหมายภายนอก
           - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
           - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
           - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
ตอบ   ศักดิ์ของกฎหมายคือ  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกันจากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
                (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
                (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
                (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้นมีการแบ่ง
                - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                - พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
                - พระราชกำหนด
                - ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
                - พระราชกฤษฎีกา
                - กฎกระทรวง
                - ข้อบัญญัติจังหวัด
                - เทศบัญญัติ
                - ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่า จะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำถูกหรือผิด
ตอบ   ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการกระทำที่ผิด เพราะรัฐบาลไม่ยอมรับฟังการเรียกร้องหรือการชุมนุมของประชาชน ซึ่งประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองกันทั้งนั้น โดยที่ประชาชนก็ได้ประกาศแล้วว่าจะชุมนุมกันอย่างสงบแต่รัฐบาลยังมีการขัดขวางและทำร้ายประชาชน แล้วสิทธิของประชาชนจะตั้งไว้เพื่อทำอะไร เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า หน้าที่ของประชาชนคือ บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

11. ท่านมีความรู้เกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
 ตอบ  กฎหมายการศึกษา คือบทบัญญัติข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและสถาบันหรือหน่วยงานเพื่อให้ปฏิบัติตามและนำไปสู่การพัฒนาบุคคล สังคมและประเทศชาติเพื่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล  จะเป็นกฎ คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้ครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ  ในฐานะที่ข้าพเจ้าจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าหากว่าข้าพเจ้าไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าจะไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา และตระหนักในความสำคัญของกฎหมายการศึกษา เมื่อข้าพเจ้าไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบกับข้าพเจ้ามาก ซึ่งถ้าหากข้าพเจ้าเจอปัญหาทั้งในและนอกห้องเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องใช้กฎหมายการศึกษาเข้าช่วยในการแก้ปัญหา ข้าพเจ้าก็จะไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้ เนื่องจากข้าพเจ้าจะไม่มีความรู้ในการจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาวะสังคมในปัจจุบัน และข้าพเจ้าจะปฏิบัติงานได้ไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ซึ่งจะส่งผลต่อผู้เรียนในการรับความรู้ที่มีประโยชน์น้อยและไม่สามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพขึ้นได้ ดังนั้น ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาก็จะเกิดขึ้นตามมา ตั้งแต่ในระดับห้องเรียนแล้วไล่ไปยังระบบที่ใหญ่ๆขึ้นทั้งโรงเรียน สังคมและประเทศชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น