สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเรื่อง
SWOT
จากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมการอบรม
SWOT
ทำให้ได้ทราบว่า การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา
(SWOT) นั้นเพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม
สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา
ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด
รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น ซึ่งการศึกษาความต้องการของชุมชน
เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา
จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ
และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรเพื่อวางแผนกลยุทธ์ เรียกว่า SWOT
Analysis ซึ่งได้แก่
Strengths
- จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses
- จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities
- โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats
- อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรเพื่อการวางแผนกลยุทธ์
ซึ่งช่วยให้เราได้วิเคราะห์และมองเห็น องค์กรอย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น
ทำอย่างไรจึงจะอาศัยโอกาสและจุดแข็งมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลีกเลี่ยงอุปสรรคและลดจุดอ่อนขององค์กรให้ได้มากที่สุด
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
สภาพแวดล้อมภายใน
ได้แก่ จุดแข็ง (Strength)
และ จุดอ่อน (Weakness)
ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราสามารถควบคุมได้ภายในหน่วยงาน
ซึ่งจะมีลักษณะที่ดีและไม่ดีเช่น การบริหาร การตลาดและการขาย การบริการ การบัญชี
การเงิน ตรวจสอบ การบริหารงานบุคคล ธุรการ สินเชื่อ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะใช้จุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์และใช้
จุดอ่อนเพื่อปรับปรุง อีกทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนนั้นต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
แต่ถ้าเหนือกว่าคู่แข่งถือเป็นจุดแข็ง และถ้าด้อยกว่าคู่แข่งถือเป็นจุดอ่อน
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกได้แก่
โอกาส (Opportunity)
และ อุปสรรค (Threat) ได้แก่ ลักษณะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
การเมือง กฎหมาย รัฐบาล เทคโนโลยี แนวโน้มการแข่งขัน ซึ่งสามารถสร้าง
ประโยชน์หรืออุปสรรคได้
การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร
หลังจากที่เราได้วิเคราะห์ของสภาพแวดล้อมต่างๆ
แล้ว ก็ถึงขั้นตอนในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร มิติในการกำหนดกลยุทธ์อาจกำหนดเป็นระดับเช่น
กลยุทธ์ระดับองค์กร กลยุทธ์ระดับฝ่ายงานและแผนงานปฏิบัติ
หรือการกำหนดกลยุทธ์ตามมุมมองต่างๆ เช่น ด้านลูกค้า ด้านการเงิน
ด้านกระบวนการภายใน ด้านบุคลากร ฯลฯ
แนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์ในองค์กร
1) การเตรียมการ (Project Setup)
2) การวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กร (SWOT)
3) การจัดทำ วิสัยทัศน์
เป้าประสงค์ และประเด็นยุทธศาสตร์ (Vision, Goals and Strategic Issues)
4) การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy)
5) การกำหนดโครงการ (Action Plans)
***
ซึ่งในที่นี้จะสรุปและนำเสนอตัวอย่างเฉพาะขั้นตอนการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาองค์กรในปัจจุบัน
(SWOT Analysis) หรือ
ที่เรียกว่า SWOT นั่นเอง
ขั้นตอนการทำ SWOT
1. แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์สถานภาพของ องค์กร โดยใช้นโยบายรัฐบาลและระเบียบวาระแห่งชาติ
(National Agenda) และปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในพื้นที่
Outside in
2. Moderator นำกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยภายใน
(จุดแข็ง จุดอ่อน) และปัจจัยภายนอก (โอกาส อุปสรรค) ของประเด็นนั้นๆ
3. สรุปแนวความคิดและนำเสนอในกลุ่มใหญ่เพื่อสรุปสถานภาพของการพัฒนา องค์กร
ในปัจจุบันว่าอยู่ในระดับใด
4. ร่วมกันจัดลำดับความจำเป็นและความสำคัญของประเด็นต่างๆ
คุณสมบัติที่ดีของ SWOT
Analysis
คือ
มีความเชื่อมโยงกับกรอบนโยบายรัฐบาลและระเบียบวาระแห่งชาติ และแสดงถึงลักษณะเฉพาะตัวของ
องค์กร ทั้งในแง่จุดอ่อนและจุดแข็ง ซึ่งสามารถเป็นพื้นฐานประเด็นในการพัฒนา
รวมทั้งสะท้อนถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่บริการ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง
มีข้อมูลสนับสนุน ไม่ใช่ความคิดเห็น จะต้องคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (Outside
in) ตลอดจนมีความสมดุลระหว่างการวิเคราะห์ภายนอกและการวิเคราะห์ภายใน
การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
ถ้าหากมีแผนแล้วแต่ไม่นำมาปฏิบัติ
การลงทุนลงแรงต่างๆ ไปกับการเขียนแผนก็คือความสูญเปล่า องค์กรที่
ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับทั้งการสร้างแผนกลยุทธ์และการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
***การวิเคราะห์เพื่อจัดวางกลยุทธ์
โดยการทำ SWOT Analysis นี้จะดำเนินการได้โดยนำปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กรหรือปัจจัยที่มีผลกระทบต่อองค์กรมาพิจารณาว่าจะนำไปใช้เพื่อความสำเร็จได้หรือไม่
อย่างไร ซึ่งจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ดังนี้
ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์
(วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก)
ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบกับการบริหารจัดการองค์กร
คือ การตอบรับของสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น วัฒนธรรม พฤติกรรมของผู้บริโภค
ระบบการศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี (Social) และความชัดเจนของกฎหมายและผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรม (Law &
Policy) รวมไปถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ (Economic) นโยบายทางการเมือง และความเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Political)
ผลกระทบของความเจริญทางเทคโนโลยีและระบบ IT ที่มีต่อการดำเนินงาน
(Technology) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ที่จะถูกกระทบ
ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์
(วิเคราะห์ปัจจัยภายใน)
หากพิจารณาแล้วเราจะระบุถึงจุดเด่นและจุดด้อยของหน่วยงานได้จาก
7s
ได้แก่ 1) Structure (ความเหมาะสมของโครงสร้างของสายงานและลักษณะการจัดกลุ่มงาน
2) Strategy (ความชัดเจนในการวางแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
แผนการในการพัฒนาการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคลากร) 3) System (การประสานงานอย่างเป็นระบบ
การประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ การมีคู่มือการทางาน การนาระบบ IT มาใช้ในการปฏิบัติงาน) 4) Style (การหมุนเวียนงานภายในหน่วยงาน
การสื่อสารและการปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยงาน) 5)
Staff (ความเพียงพอของบุคลากร
ความเข้าใจของบุคลากรต่อบทบาทหน้าที่ การทางานเป็นทีม
ความพร้อมในการทางานต่อการเปลี่ยนแปลง) 6) Skills (ความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญในหน้าที่รับผิดชอบ ทักษะในการใช้เทคโนโยลี) 7) Shared Value (ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อหน้าที่และการบริหารงาน
ความเชื่อมั่นต่อองค์กรและหน่วยงานของบุคลากร)
กล่าวได้ว่า
หลังจากการอบรมเรื่อง SWOT ในครั้งนี้
ดิฉันมีความเข้าใจและมีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก
ซึ่งความรู้ที่ท่านวิทยากรมอบให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตการเป็นครู
และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและเป็นตัวช่วยในการศึกษางานต่างๆภายในโรงเรียนอย่างเข้าใจในการปฏิบัติงานขั้นฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษาที่กำลังจะมาถึงนี้ได้อีกด้วยค่ะ
และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งดิฉันขอขอบคุณ ดร.อภิชาติ วัชรพันธุ์ อาจารย์ประจำรายวิชากฏหมายและการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ที่ท่านคอยให้ความรู้และคำแนะนำในเรื่องต่างๆเป็นอย่างดีมากและนำสิ่งดีๆมามอบให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากบุคลากรภายนอก
ซึ่งท่านไม่เพียงแค่ให้ความรู้เพียงอย่างเดียวท่านยังสอดแทรก
คุณธรรมจริยธรรมและสอนให้นักศึกษาประพฤติตนในทางที่ดีตลอดมา ขอขอบคุณ ดร.อภิชาติ
วัชรพันธุ์ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น