ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา
1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม
จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ
กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งของสังคม
กล่าวคือสังคมซึ่งเป็นที่รวมของคนหมู่มากอาจมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกันอยู่
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางระเบียบหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข
ระเบียบหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เรียกรวมๆ กันว่าระเบียบของสังคม
ซึ่งได้แก่ ศีลธรรม จารีตประเพณีและกฎหมาย
ศีลธรรม
คือ ความรู้สึกนึกคิด ผิดชอบชั่วดีภายในจิตใจของมนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบ
มีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าเมื่อได้ทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้
ขัดขวางหรือมีการแก้แค้นได้
มนุษย์เราก็จะต้องระมัดระวังไม่กระทำในสิ่งที่อาจถูกคนอื่นตอบโต้หรืออาจจะถูกตำหนิ
ติเตียนได้ ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์เองว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำที่เราเรียกว่า
ศีลธรรม
จารีตประเพณี
คือ
ระเบียบแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน
โดยปกติแล้วประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่มุ่งถึงการกระทำภายนอกของมนุษย์เป็นกฎเกณฑ์ที่บังคับพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา
สำหรับจารีตประเพณีนั้นอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น การที่พบบุคคลอื่น
อาจจะมีการทักทายกัน หรือการที่เข้าไปในวัด ในโบสถ์ จะต้องถอดรองเท้า
หรือจารีตประเพณีในเรื่องของการแต่งงาน ในเรื่องของการหมั้น อย่างของไทยมีการที่จะต้องไป
สู่ขอจากฝ่ายหญิง มีขันหมาก มีสินสอด
มีของหมั้นไปให้ฝ่ายหญิงก็ถือว่าเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่ง
กฎหมาย คือ
กฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคลในสังคมซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติตาม
มิฉะนั้นจะได้รับผลร้ายหรือไม่ได้รับผลดีที่เป็นสภาพบังคับโดยเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมายในปัจจุบัน สามารถจำแนกลักษณะของกฎหมายได้ 4
ประการ คือ
- กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ “กฎเกณฑ์”
(Norm) หมายความว่ากฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน
(Standard) ที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด
ทำได้หรือทำไม่ได้ ตัวอย่างกฎเกณฑ์ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตผู้นั้น
กระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพักบาท”
บทบัญญัตินี้เป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์ว่า
การลักทรัพย์ของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ผิดไม่สมควรกระทำ เป็นต้น
- กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล
ความประพฤติ (Behavior) ได้แก่
การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ
ความประพฤติของมนุษย์ที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายนั้นต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไข
2 ประการคือ
ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวนั้น
กระทำภายใต้การควบคุมของจิตใจ
หากแม้มีการเคลื่อนไหวร่างกายแต่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
ตามกฎหมายก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำของมนุษย์ที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย เช่น
การกระทำโดยละเมอ การกระทำโดยตื่นเต้นตกใจ เป็นต้น
ส่วนการไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ เช่น
การที่แม่นิ่งเฉยเสียไม่ยอมให้นมหรืออาหารให้แก่ลูกทารก ทำให้ลูกเสียชีวิต เป็นต้น
- กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
สภาพบังคับ (Sanction) ของกฎหมาย
คือมาตรการกำหนดผลของการกระทำตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนไม่ยอมกระทำตามกฎหมาย
ซึ่งมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย เช่น การลงโทษทางอาญา
ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน คือ
1.ประหารชีวิต
2.จำคุก
3.กักขัง
4.ปรับ
5.ริบทรัพย์สิน
หรือการลงโทษทางแพ่ง
เช่น การให้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือการยึดทรัพย์สินของจำเลยนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้
เป็นต้น หรือสภาพบังคับที่เป็นผลดีหากทำตามที่กฎหมายกำหนด เช่น
รัฐลดภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลที่ทำธุรกิจตามที่รัฐกำหนด เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่แล้วคนมักเข้าใจว่ากฎหมายมีสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายเท่านั้น
- กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน
จากการที่กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ซึ่งสภาพบังคับของกฎหมายนั้นจะต้องมีกระบวนการที่แน่นอนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การบังคับใช้กฎหมายก็ต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับกฎหมายโดยประชาชน
เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่าใช้กำลังบังคับคนที่อ่อนแอกว่า
ซึ่งจะทำให้สังคมวุ่นวาย กระบวนการบังคับให้กฎหมายที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐนี้กระทำ
โดยผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล และ ราชทัณฑ์ เป็นต้น
กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ
แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
- ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่
ส่วนศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
- กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น
แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว
- กฎหมายนั้น
ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ แต่ศีลธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆ
นั้นโดยเฉพาะ โดยจะกระทบกระเทือนจิตใจของเขามากน้อยเพียงใดเท่านั้น
กฎหมายกับจารีตประเพณีมีความแตกต่างกันดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ
แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรืออาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้น
- การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย
ผู้กระทำจะมีความผิดและถูกลงโทษ
แต่การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการติเตียนจากสังคมเท่านั้น
- กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น
แต่จารีตประเพณีครอบคลุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด
จากความคิดเห็นของข้าพเจ้า
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมและจารีตประเพณี
มีหลายประการด้วยกัน
แต่กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่จัดระเบียบของสังคมเหมือนกัน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข
ซึ่งกฎหมายอาจมีลักษณะแตกต่างจากฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่า
สามารถนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า
นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจสามารถเกิดขึ้นเองได้เหมือนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ
เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายจากศีลธรรม ศาสนา
และจารีตประเพณี ในเรื่องของศีลธรรมที่เรานำมาใช้เป็นที่มาของกฎหมาย เช่น
การที่สามีภริยาไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน โดยภริยาไปมีชู้ซึ่งเป็นเรื่องผิดศีลธรรม
กฎหมายก็อาจจะบัญญัติถึงผลของการมีชู้ว่าให้สามีฟ้องหย่าจากภรรยาได้เป็นต้น
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร
มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช. พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
ตอบ เมื่อกล่าวถึง “ศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierarchy of
law) หลายคนและรวมถึงตัวของดิฉันด้วยจะไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร
มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปแล้วมีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย
ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน
ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น
พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
การจัดศักดิ์ของกฎหมาย
มีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่างๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ
และการยกเลิกกฎหมาย เช่น
หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า
จะมีเนื้อหาของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่านั้นไม่ได้ หากพิสูจน์ได้ว่ามีความขัดหรือแย้งดังกล่าว
ถือว่ากฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่าจะถูกยกเลิกไป
การจัดการกำหนดศักดิ์ของกฎหมายมีเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดคือ
เกณฑ์ที่ใช้กำหนดศักดิ์ของกฎหมายพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย กล่าวคือ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา
และเป็นการใช้อำนาจในการออกกฎหมายร่วมกันของสองสภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุด
ในขณะที่กฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมา คือ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
จะถูกพิจารณาโดยสภาผุ้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงจะผ่านไปยังวุฒิสภา
ถือเป็นการแยกกันในการใช้อำนาจออกกฎหมาย (Ordinary laws are
voted by the two Chambers deliberating separately)
เมื่อกฎหมายแต่ละฉบับถูกบัญญัติโดยองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายแตกต่างกัน
ผลก็คือ
ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับมีศักดิ์ของกฎหมายหรือลำดับชั้นของกฎหมายไม่เท่ากัน โดยลำดับชั้นของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกันนี้
หมายถึง ค่าบังคับของกฎหมายแต่ละฉบับจะสูงต่ำแตกต่างกันไป เช่น
รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเป็นกฎหมายแม่บท กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด จะมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญไม่ได้
ทั้งนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด ต่างก็เป็นกฎหมายลูกของรัฐธรรมนูญ
คือต้องอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตราเป็นกฎหมาย ดังนั้น
จึงเม่ากับว่ากฎหมายลูกจะขัดกับกฎหมายแม่ไม่ได้
ถ้ากฎหมายลูกขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นก็มีผลเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้
ลำดับการจัด
สามารถเรียงได้ดังนี้
§ รัฐธรรมนูญ
คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช.
§ พระราชกำหนด
พระราชบัญญัติ พระบรมราชโองการ
§ พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
§ เทศบัญญัติ
การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น ออกเป็น
7 ประเภท ดังนี้
1.
รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้ โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2.
พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายเป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
3.
พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีตามบท
บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ
ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
4.
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
5.
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
6.
ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น
7.
ประกาศคำสั่งเป็นกฎหมายเฉพาะกิจ เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ
คำสั่งหน่วยงานราชการ เป็นต้น
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง
ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ
โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา
สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา
เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี
น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง
พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้
แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย
บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้ ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้
ตอบ จาการที่ข้าพเจ้าได้อ่านข่าว
ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ
เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ ข้าพเจ้ารู้สึกหดหู่และกังวลใจมากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก
รู้สึกว่าทำไมเหตุการณ์ร้ายแรงเช่นนี้ถึงเกิดขึ้นในโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พัฒนาคนให้เป็นคนดีและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม
และเป็นแหล่งที่ป้อนความรู้ ไม่ว่านักเรียนจะเป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้เดิมหรือไม่
หรือจะเป็นบุคคลที่ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการเรียน การใช้ชีวิตประจำเลย ครูเป็นบุคคลเดียวเท่านั้นที่จะมอบความรู้
และชีวิตใหม่ที่สามารถมีจุดยืน มีอาชีพที่ดี การเงิน และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
แต่ ณ วันนี้ กลับตรงกันข้าม ซึ่งบุคคลที่ทำร้ายนักเรียน นั่นคือ ครู
คือผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่แบบของชาติ เป็นผู้ที่สร้างสรรค์บุคคลให้เป็นคนดีในสังคม
แต่ขณะนี้ทำไมคนที่ได้ชื่อว่าครูถึงลืมภาระหน้าที่ของตนเอง
ถอดทิ้งจรรยาบรรณและจิตวิญญาณความเป็นครูออกไปหมด ปล่อยให้สิ่งที่เลวร้ายมาครอบงำ
ให้คิด ให้ทำ ในสิ่งที่คนเป็นครูไม่สามารถจะทำได้
ดิฉันเชื่อว่าทุกคนก็ต้องคิดเช่นเดียวกับดิฉันว่าทุกๆอาชีพในโลกนี้
ไม่มีอาชีพใดที่สมควรเอาแบบอย่าง และเชิดชูในความดี
และการสร้างคนให้เป็นคนดีเหมือนอาชีพครู ซึ่งปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาปกติ
ที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกห้องเรียนและทุกโรงเรียน
เพราะนักเรียนไปโรงเรียนเพื่อไปรับความรู้จากครูบาอาจารย์
โดยที่ครูบาอาจารย์เหล่านั้นจะต้องทำหน้าที่มอบ และถ่ายทอดความรู้รวมทั้งแนวทางการดำเนินชีวิตประจำวัน
การปฏิบัติตนเป็นคนดีให้แก่นักเรียน และอีกประการที่สำคัญที่ครูควรคำนึงถึงอยู่เสมอคือ
นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการและความถนัด ความบกพร่องที่แตกต่างกันไป ดังนั้น อันดับแรก
คือ ครูจะต้องควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้
ต้องคำนึงถึงความสำเร็จของนักเรียนมาเป็นอันดับแรก
ครูควรปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูให้สมบูรณ์ และเป็นผู้ให้และสอนจากใจจริง
จากจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง ไม่ใช่สอนเพียงเพราะหน้าที่เพียงเท่านั้น
และที่สำคัญ เป็นประเด็นที่สำคัญที่ครูยุคใหม่ควรคำนึงถึง
และปรับเปลี่ยนบางอย่างให้เข้ากับการศึกษาในสังคมปัจจุบัน นั่นคือ
การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการสอน ดังนั้น
ครูควรปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนในชั้นเรียน
ค่อยๆเริ่มพัฒนาไปตามกระบวนการ และจากการวิเคราะห์ข่าวดังกล่าวนี้ ทำให้ทราบว่าครูท่านนี้ได้ประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา
96 ซึ่งต้องโทษลาออก
ข้าพเจ้าก็เป็นนักศึกษาครูคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นครูในอนาคต
ข้าพเจ้าคิดว่าครูที่ดีจะต้องให้ทุกอย่างแก่ศิษย์ ทั้งให้ความรู้ ให้โอกาสครูต้องให้โอกาสศิษย์เสมอในการศึกษาเล่าเรียน
เพราะการศึกษาเล่าเรียนไม่มีคำว่าสาย
รวมทั้งให้โอกาสในการประพฤติผิดในด้านอื่นๆด้วย ให้ความคิด นอกจากความรู้ที่ครูจะต้องถ่ายทอดให้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบังแล้ว
ครูจะต้องให้ความคิดแก่ศิษย์ด้วย คือให้ศิษย์คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น ให้ชีวิต ครูเป็นผู้ให้ชีวิต ในที่นี้หมายถึง ให้จิตวิญญาณ
และอุดมการณ์ นักเรียนประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากมีครูที่ให้อุดมการณ์ ให้กำลังใจ ครูต้องเป็นผู้ให้กำลังใจศิษย์ โดยเฉพาะเมื่อศิษย์เกิดความเบื่อหน่าย
ความท้อแท้ หรือหมดหวัง การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม
ศิษย์หลายคนที่เคยท้อแท้ในชีวิต
แต่เมื่อได้กำลังใจจากครูก็กลับฮึดสู้จนประสบความสำเร็จได้ ให้อภัย ครูต้องให้อภัยศิษย์เสมอ
4. ให้นักศึกษา
สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร
ตอบ
วิเคราะห์จุดแข็ง
จุดอ่อน อุปสรรคของตัวดิฉัน
จุดแข็ง
(S)
1.
ความมีระเบียบ เรียบร้อยในการทำงานที่อาจารย์มอบหมาย
2.
รักในความเป็นศิลปะ จะชอบสร้างสรรค์งานแบบใหม่ๆ อย่างเช่น ชิ้นงานที่อาจารย์สั่ง
ดิฉันจะชอบออกแบบ ให้มีสีสันและรูปแบบที่หลากหลาย
3. รับผิดชอบงานที่อาจารย์มอบหมาย
และส่งงานที่อาจารย์มอบหมายตามเวลาที่อาจารย์กำหนดทุกชิ้น
4. มีความพร้อมในการเตรียมเอกสาร
เนื้อหาก่อนมาเรียน
5. ในขณะที่ทำงานที่อาจารย์เปิดโอกาสให้พูดคุยกับเพื่อนๆในห้องเรียนได้
ดิฉันจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน ซึ่งจะทำให้มีมุมมองใหม่ๆ
6. มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
7. เวลาอาจารย์สอน
ดิฉันจะคิดตามสิ่งที่อาจารย์พูด
จุดอ่อน
(w)
1.
การทำงานล่าช้า
2.
เป็นคนมองโลกในแง่ลบเป็นส่วนใหญ่
3.
ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ลังเลใจ
4.
สะเพร่า
5.
เรียนหรืออ่านอะไรไปแล้วถ้าไม่ทบทวนจะลืม
6. ไม่อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ
โอกาส
(o)
1.
สามารถนำทฤษฎีและหลักการต่างๆที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
2.
อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเสมอ รวมทั้งมีความชัดเจนในการมอบหมายภาระงานให้นักศึกษา
3.
มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม
4.
สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าและอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน
5. ได้เรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ
และสามารถเปรียบเทียบกับความรู้เดิม ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรได้
อุปสรรค (T)
1.
ในรายวิชาภาษาอังกฤษดิฉันจะจำความหมายคำศัพท์เฉพาะบางตัวไม่ได้ ส่วนในรายวิชาที่เป็นทฤษฎีหรือแนวคิดต่างๆ
ดิฉันจะจำสลับกันบ่อยมาก เพราะมีมากมายหลายทฤษฎี
2.
มีกิจกรรมระหว่างเรียนบ่อยมาก ทำให้เนื้อหาที่เรียนไม่ต่อเนื่องกันทำให้บางครั้งลืมเนื้อหาที่เรียน
3.
ไม่เข้าใจในวิธีการนำทฤษฎีบางตัวไปใช้ คือ ยังไม่เข้าใจในจุดประสงค์หลักของทฤษฎีนั่นอย่างชัดเจน
4.
ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนเป็นเวลานาน ทำให้ไม่ทันเพื่อน เพราะการเรียนในบางวิชาดิฉันอาจจะเข้าใจช้ากว่าผู้อื่น
หรือ อาจจะขาดเรียนไปในรายวิชานั้น
5.
ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล
มีข้อดีและข้อเสีย
ตอบ สำหรับการเรียนวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา
อาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้ คือ ดร.อภิชาติ วัชรพันธุ์ ท่านมีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอย่างหลากหลาย ให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอย่างอิสระ
ซึ่งข้อดีของอาจารย์ผู้สอนคือ
1. อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน สอนเนื้อหาอย่างเข้าใจทุกเรื่อง ให้ความรู้อย่างเต็มที่
ไม่หวงความรู้
2. อาจารย์ใช้เทคโนโลยีในการสอน
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากและสอดคล้องกับการศึกษาในปัจจุบันอย่างแท้จริง
3. อาจารย์สั่งงานอย่างละเอียดและชัดเจน นักศึกษาทุกคนเข้าใจงานของอาจารย์ทุกชิ้น
และสามารถปฏิบัติงานส่งตามเวลาที่อาจารย์กำหนดทุกครั้ง
4. อาจารย์ให้คำแนะนำในทุกๆเรื่องอย่างดีมาก
และอาจารย์ไม่เพียงแค่สอนเนื้อหาเพียงอย่างเดียว อาจารย์ยังสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
และสอนให้นักศึกษาปฏิบัติตนในทางที่ดีตลอดมา
5. อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีมากให้กับนักศึกษาในทุกๆเรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น